ระบบจีพีเอส ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก
ระบบจีพีเอส ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (จีพีเอส) (Global positioning System : GPS) หรือ นาฟสตาร์ (Navstar) คือระบบดาวเทียมนำร่องโลก เพื่อระบุข้อมูลของตำแหน่งและเวลาโดยอาศัยการคำนวณจากความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ส่งมาจากตำแหน่งของดาวเทียมต่างๆ ที่โคจรอยู่รอบโลก สามารถระบุตำแหน่ง ณ จุดที่รับสัญญาณได้ทั่วโลกไม่ว่าจะสภาพอากาศแบบใด สามารถคำนวณความเร็วและทิศทางเพื่อนำมาใช้ร่วมกับแผนที่ในการติดตามยานพหานะ คน สัตว์ สิ่งของ และยังใช้ร่วมกับแผนที่นำทางได้
ดาวเทียมของจีพีเอสเป็นดาวเทียมที่มีวงโคจรระดับกลาง (Medium Earth Orbit: MEO) ที่ระดับความสูงประมาณ 200 กิโลเมตร จากพื้นโลก ใช้การยืนยันตำแหน่งโดยอาศัยพิกัดจากดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวง สามารถยืนยันตำแหน่งได้ครอบคลุมทุกจุดบนผิวโลก ปัจจุบัน เป็นดาวเทียม GPS Block-II มีดาวเทียมสำรองประมาณ 4-61 ดวง
คุณสมบัตติ GPS ติดตามรถได้แก่
- สามารถดูการเดินทางย้อนหลังได้ 90 วัน
- สามารถดูพฤติกรรมการขับรถของคนอื่นได้
- สามารถดูตำแหน่งรถพร้อมกันหลายๆ คันไดั ด้วย Login เดียว
- สามารถดูตำแหน่งรถผ่านคอมพิวเตอร์และมือถือ
GPS ติดตามรถมีประโยชน์อย่างไร
- รถอยู่ไหน รู้ได้ตลอดผ่านโทรศัพท์มือถือ แบบ Realtime
- ช่วยบอกตำแหน่งและป้องกันรถหาย ด้วยระบบเครื่องติดตาม
- แจ้งเตือนโดยการโทร เมื่อมีคนสตาร์ทรถ
- แจ้งเตือนโดยการส่ง SMS เมื่อขับเกินระยะทางที่กำหนด
- เตือนเมื่อรถออกจากจุดจอด และเมื่อโดนถอดสายไฟ
GPS คืออะไร เรารู้จัก GPS มากน้อยแค่ไหน
ทุกวันนี้การเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ สะดวกสบายมากขึ้นกว่าเดินนั่นเพราะเรามีสิ่งทีเรียกว่า GPS คอยนำทางให้กับเราไปในทุกๆ ที่ที่เราต้องการ ต้องยอมรับว่าหากเป็นในยุคก่อนการจะเดินทางไปที่ไหนสักแห่งวิธีการที่เราสามารถทำได้คือเปิดแผนที่ดู แต่คำว่าแผนที่มันก็ไม่สามารถทำให้เรามั่นใจได้แบบ 100%
เพราะการเปิดเราจะเปิดจากแผ่นกระดาษ และอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้มหาศาล ดังนั้นการมี GPS เกิดขึ้นมาจึงเป็นเหมือนกับทางเลือกดีๆ ให้กับทุกคนได้ใช้งานกัน ว่าแต่หลายคนคงกำลังอยากรู้เกี่ยวกับความหมายของ GPS กันพอสมควร ดังนั้นลองมาทำความรู้จักไปพร้อมกันว่า GPS คืออะไร
GPS ย่อมาจาก Global Positioning System ซึ่ง GPS หมายถึง ระบบการระบุตำแหน่งบนพื้นโลกที่มีการทำงานร่วมกับดาวเทียมบอกตำแหน่งทั้งหมดจำนวน 24 ดวง สามารถบอกระดับพิกัดตำแหน่ง (X, Y, Z) ความเร็ว เวลาได้
โดยดาวเทียมต่างๆ นี้จะโคจรอยู่รอบโลกเพื่อส่งสัญญาณให้กลับมายังจุดรับสัญญาณบริเวณต่างๆ ที่อยู่ในโลกของเรา เช่น มือถือ, เรือ, รถยนต์ มีการคำนวณระยะห่างจากดาวเทียมอย่างน้อย 3 ดวง กับจุดรับสัญญาณ ดาวเทียมเหล่านี้เป็นดาวเทียมที่มีวงโคจรระดับกลาง ความสูงของตัวดาวเทียมราวๆ 20,000 กม. จากพื้นผิวโลก
GPS มาจากไหน
อีกเรื่องที่หลายคนตั้งข้อสงสัยทำนองที่ว่าแล้วจุดเริ่มต้นของ GPS คือ มาจากอะไร ต้องบอกว่าแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องของ GPS เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 1957 จากนักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐฯ กระทั่งถึงปี 1960 ได้เริ่มต้นการทดสอบใช้งานจริงภายในกองทัพเรือของสหรัฐฯ ทว่าความจริงแล้วเหลุผลสำคัญที่ทำให้ GPS กลายเป็นสิ่งที่คนทั่วไปได้มีโอกาสใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากระทั่งทุกวันนี้
มีที่มาตอนเหตุการณ์เมื่อปี 1983 เมื่อเครื่องบินโคเรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 007 ของเกาหลีใต้ได้เกิดการพัดหลงเข้าไปยังน่านฟ้าของสหภาพโซเวียตก่อนถูกยิงตกลงมา จำนวนผู้โดยสาร 269 คนเสียชีวิตทั้งหมด
นั่นทำให้ประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ของสหรัฐฯ ออกมาประกาศว่า หากระบบ GPS มีการพัฒนาจนเสร็จสมบูรณ์เขาจะอนุญาตให้ประชาชนทั่วๆ ไปได้ใช้งานกัน นั่นจึงทำให้เรื่องของ GPS ค่อยๆ ถูกพัฒนาให้เข้ามาสู่เชิงพาณิชย์มากขึ้นไม่เหมือนสมัยก่อนที่จะใช้งานในเชิงทางทหารกันเพียงอย่างเดียว
สำหรับระบบ GPS จะทำงานควบคู่ไปกับดาวเทียม GPS เอาไว้ในการระบุตำแหน่งบนพื้นผิวโลกของเรา ตัวเครื่องที่ทำการรับสัญญาณ GPS ต้องมีการประมวลผลเรื่องความแตกต่างของเวลาด้านการรับสัญญาณเทียบกับเวลาจริงๆ โปรแกรม gps ส่งผลให้สามารถระบุตำแหน่งต่างๆ บนพื้นผิวโลกของเราได้อย่างชัดเจนและเป็นสิ่งที่เรานำมาใช้งานกันอยู่
ประเภทของการใช้งาน GPS ในปัจจุบัน
ทุกวันนี้ระบบ GPS ที่เราใช้งานกันอยู่จะถูกแยกออกมาเป็น 2 ประเภท ประกอบไปด้วย
GPS Navigator
อุปกรณ์และระบบนำทาง เป็น GPS ที่เราคุ้นเคยกันมากเนื่องจากจะใช้งานกับรถยนต์ทั่วไปสำหรับบอกแผนที่เส้นทางต่างๆ ที่เราต้องการเดินทางไปแต่ไม่แน่ใจว่าต้องเดินทางผ่านถนนเส้นไหน เลี้ยวเข้าซอยอะไร การทำงานหลักของ GPS คือ ต้องมีการบอกพิกัดตำแหน่งปลายทางที่เราต้องการไป
เมื่อบอกพิกัดเรียบร้อย GPS จะทำการคำนวณเส้นทางที่เหมาะสมพร้อมระยะทางจากจุดที่คุณอยู่และบอกเวลาได้ด้วยว่าต้องใช้ประมาณกี่นาทีจึงจะถึงจุดหมายปลายทางตามต้องการ
GPS Tracking System
อุปกรณ์และระบบติดตามรถ ยานพาหนะและสัตว์เลี้ยง สำหรับ GPS ประเภทนี้จะมีลักษณะทำนองติดตามการเดินทางพร้อมบอกพิกัดกับตำแหน่งของตัวเครื่อง GPS ได้ อีกทั้งเรายังสามารถแยกย่อยออกได้อีก 2 แบบ คือ
อุปกรณ์ติดตามรถแบบออฟไลน์ เอาไว้ใช้เพื่อตรวจสอบประวัติการเดินทาง แต่จะตรวจสอบเรื่องของตำแหน่งที่ตั้งของที่อยู่เครื่อง GPS นั้นๆ ไม่ได้ อีกแบบคือ อุปกรณ์ติดตามรถกึ่ง ออฟไลน์ อุปกรณ์ตัวนี้ทำงานร่วมกับมือถือนั่นทำให้สามารถดูในส่วนของประวัติการเดินทางรวมถึงตำแหน่ง ที่ตั้งปัจจุบัน ของตัวอุปกรณ์ GPS นั้นได้ด้วยว่าตอนนี้อยู่ตรงไหนแล้ว
การทำงานของระบบ GPS ทั่วไปจะมีระยะเวลา ในการทำงานเบื้องต้นอยู่ราว 30 – 40 วินาที เพื่อเริ่มต้นระบุตำแหน่ง ตามความต้องการของเรา มีการใช้ข้อมูลการโคจรจากดาวเทียม เพื่อคำนวณตำแหน่งในปัจจุบันออกมา อัตราการส่งสัญญาณอยู่ที่ 50 บิต / วินาที อย่างไรก็ตามการดาวน์โหลดข้อมูล เกี่ยวกับวงโคจรดังกล่าวนี้ อาจใช้เวลานานกว่านั้นอยู่บ่อยๆ
ส่วนประกอบหลักในการทำงานของ GPS ประกอบไปด้วย 3 ส่วน
- ส่วนอวกาศ มีดาวเทียมเครือข่าย 3 ค่ายหลักๆ คือของสหรัฐฯ, ยุโรป และรัสเซีย ของสหรัฐฯ ชื่อ NAVSTAR, ของยุโรปชื่อ Galileo และของรัสเซียชื่อ GLONASS
- ส่วนควบคุม จะมีสถานีภาคพื้นดินอยู่ที่ Falcon Air Force Base สหรัฐฯ พร้อมศูนย์ควบคุมย่อยอีกทั้งหมด 5 จุด กระจายออกไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกให้ได้ใช้งานกัน
- ส่วนผู้ใช้งาน คนที่จะใช้งาน GPS ต้องมีเครื่องรับสัญญาณที่รับคลื่นพร้อมมีการแปรรหัสจากตัวดาวเทียมสำหรับนำมาประมวลผลให้เหมาะกับการใช้งานในรูปแบบต่างๆ ได้นั่นเอง
นี่คือเรื่องราวอันน่าสนใจเกี่ยวกับ GPS ที่ต้องบอกว่ายุคนี้ เราใช้งานกันแพร่หลายมากๆ โดยเฉพาะคนที่ต้องขับรถยนต์เป็นประจำ เชื่อว่าได้มีโอกาสใช้งาน บ่อยกว่าคนปกติ ดังนั้นการรู้จักความ GPS คืออะไร จะทำให้เราเข้าใจ ที่มาของสิ่งเหล่านี้มากขึ้น พร้อมทั้งช่วยให้เข้าใจระบบการทำงาน ของมันมากขึ้น อย่างน้อยๆ เวลาใครถามเรา สามารถตอบได้ว่า GPS หมายถึง อะไร มีที่มาอย่างไร
สนใจ เเอดไลน์ LINE : @GeniusGPS