ติด จี พี เอ ส รถยนต์

ติด จี พี เอ ส รถยนต์ ติดได้อย่างไร

ติด จี พี เอ ส รถยนต์

ติด จี พี เอ ส รถยนต์ มีอรรถประโยชน์มากมายทั้งด้านความปลอดภัย และบริหารรถบรรทุก เช่น ควบคุมค่าใช้จ่าย สำรวจพฤติกรรมของผู้ขับ เพิ่มความปลอดภัยในทรัพย์สิน บริหารการทำงานของรถได้ดียิ่งขึ้น โดยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการไม่สูงเกินไปและสามารถติดตั้งได้กับรถทุกคัน ไม่ต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีของรถแต่คัน

หลักการทำงานของ GDP Tracking System นั้น จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ติดตามรถยนต์ (Black Box) ที่ยานพาหนะ โดยอุปกรณ์จะรับสัญญาณจากดาวเทียม GDP เพื่อหาตำแหน่งพิกัดของรถ จากนั้นข้อมูลจะถูกประมวลผลและส่งผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในรูปแบบ GPRS ไปยังคอมพิวเตอร์ของศูนย์ผู้ให้บริการ ตำแหน่งและข้อมูลต่างๆ จะถูกประมวลผลก่อนส่งตอไปแสดงผลบนแผนที่ดิจิตอลที่คอมพิวเตอร์ของผู้รับบริการ โดยตำแหน่งและสถานภาพของรถยนต์จะแสดงในรูปแบบภาพหรือสัญลักษณ์ ซึ่งระบบสามารถทำรายงานแสดงข้อมูลสำคัญตามที่ผู้รับบริการต้องการได้อีกด้วย

การแสดงผลของ GDP Tracking System สามารถแบ่งการทำงานได้ 2 ระบบ ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ คือการแสดงผลที่เครื่องผู้ใช้งาน ซึ่งจะต้องติดตั้งโปรแกรมของผู้ใช้บริการโปรแกรมจะบันทึกข้อมูลโดยอัตโนมัติ ผู้ใช้งานสามารถดูย้อนหลังได้

และการแสดงผลผ่าน Web Side ของผู้ใช้บริการโดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม ซึ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ว่าจ้างขนส่ง ว่าสินค้าของตนนั้นเดินทางถึงไหนแล้ว ช่วยเพิ่มความมั่นใจในประสิทธิภาพการขนส่ง แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ว่าจ้างขนส่งจะโทรศัพท์สอบถามการดำเนินงานของรถบรรทุกจากผู้ประกอบการเองมากกว่า

GDP Tracking System มี 2 รูปแบบ คือ แบบNon-Real time หรือแบบOff-line

ทำงานโดยใช้อุปกรณ์ GDP หรือ Black- Box ที่ติดอยู่กับยานพาหนะ จะรับ
สัญญาณดาวเทียมและแปลสัญญาณออกมาเป็นค่าพิกัด ตำแหน่ง เวลา และความเร็วในระหว่างการเดินทาง เครื่องบันทึกข้อมูลจะอ่านข้อมูลนำมาการประมวลผลและบันทึกข้อมูลไว้ เมื่อยานพาหนะกลับมาที่บริษัทแล้ว ข้อมูลในอุปกรณ์ติดรถจะถ่ายขึ้นบนคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บไว้ตรวจสอบต่อไป แบบ Real time หรือแบบ On-line

เป็นระบบที่ติดตามและตรวจสอบตำแน่งของรถในขณะที่รถกำลังปฏิบัติงานได้ โดยแสดงตำแหน่งรถบนแผนที่ด้วโปรแกรมที่ติดตั้งไว้กับศูนย์ควบคุม เมื่อต้องการทราบตำแหน่งของรถก็สามารถเรียกดูข้อมูลผ่านเครือโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปยังเครื่องบันทึกข้อมูลในตัวรถ อุปกรณ์ที่รถจะส่งข้อมูตอบกลับมาที่ศูนย์ด้วยข้อมูลของตำแหน่งรถและข้อมูลอื่นๆ บนแผนที่ทันที

ข้อมูลในเครื่องบันทึกของรถทั้งระบบ Real time และแบบ Non-Real time จะถูกวิเคราะห์โดยโปรแกรม ซึ่งจะให้ผลการวิเคราะห์เป็นรายงานต่างๆ ทั้งข้อความ รูปภาพ กราฟ และสามารถแปลงให้อยู่ในรูปแบบ Excel ได้ ดังนี้

1. รายงานเดินรถประจำวัน และรายเดือน
2. รายงานใช้ความเร็วการใช้งานรถ และการใช้ความเร็วเกินพิกัด
3. รายงานเวลาจอดรถติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้
4. รายงานปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ไป
5. รายงานการเข้า-ออก สถานที่ที่กำหนด
6. รายงานพฤติกรรมการใช้รถ
7. รูปภาพแสดงเส้นทางการเดินทางและจุดจอดบนแผนที่
8. รายงานแสงข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง

ประโยชน์ที่ได้จากระบบ GPS Tracking

  • เพิ่มประสิทธิภาพระบบงานขนส่งและบริหารยานพาหนะ ใช้ประกอบการตัดสินใจสมารถควบคุม ติตาม สั่งการ และ
  • แก้ไขสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที
  • ลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ ควบคุมค่าใช้จ่ายการได้ทั้งค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และค้าซ่อมบำรุง สามารถควบคุมความเร็ว
  • การใช้เครื่องยนต์ รวมทั้งวางแผนการซ่อมบำรุงด้วย
  • ควบคุมตารางเวลาในการขนส่ง ช่วยส่งสิน้าได้ถูกต้องและทันเวลา ควบคุมการใช้เส้นทาง สามารถบอกลูกค้าได้ว่า
  • รถอยู่ที่ไหน ถึงเมื่อไร และลดค่าแรงล่วงหน้าพนักงาน
  • เพิ่มความปลอดภัยในการขนส่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่เสียหายมากทั้งสูญเสียทรัพย์สินและชื่อเสียง ช่วยควบคุมการขับรถ
  • ไม่ให้ขับเร็วเกินไปหรือมีพฤติกรรมขับรถที่อันตราย
  • เพิ่มภาพพจน์ของบริษัท ช่วยสร้างความมั่นใจและไว้วางใจการให้บริการลูกค้า

ข้อดีข้อเสียจากผู้ประกอบการขนส่งสินค้า

บริษัทผู้ประกอบการขนส่งสินค้าที่นำระบบเทคโนโลยี GPS มาใช้นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ๆ เนื่องจากช่วงแรกๆที่เทคโนโลยีตัวนี้เข้ามาในประเทศไทยนั้น มีราคาอุปกรณ์สูงมาก เมื่อพิจารณาดูแล้วจะไม่คุ้มค่า ทั้งนี้จะพิจารณาจากมูลค่าของสินค้าที่อยู่บนรถขนส่ง แต่ในปัจจุบัน บริษัทต่างๆก็เริ่มนิยมนำระบบ GPS มาใช้กับรถขนส่งของตน เนื่องจากสินค้าที่ส่งนั้น มีมูลค่าสูง เช่น รถขนเงินสด รถขนทองคำเครื่องประดับของมีค่าต่างๆ เมื่อเริ่มนิยมนำมาใช้กันแพร่หลาย ราคาค่าตัวของระบบ GPS จึงมีราคาไม่แพง ซึ่งมีราคาชุดละประมาณหนึ่งหมื่นสามพันบาทต่อการติดตั้งรถหนึ่งคัน และต้องเสียค่าบริการ GPRS ในการรับส่งข้อมูลกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตกประมาณเดือนละห้าร้อยบาท ซึ่งเริ่มแรกผู้ประกอบที่ได้ให้ข้อมูลนั้นไม่ได้นำมาติดตั้งทุกคัน แต่จะเริ่มจากทดลองติดตั้งประมาณ 5 คัน ซึ่งก็เห็นประโยชน์ดังนี้

  • ในแง่ของการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายจากการเดินรถ ซึ่งเกิดจากการประหยัดค่าน้ำมัน และลดค่าใช้จ่ายจากการซ่อมบำรุง อันเนื่องมาจากการออกนอกเส้นทาง , การติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้ , การขับรถเร็วซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ รวมถึงสามารถตรวจสอบในเรื่องของการลักลอบดูดน้ำมันขาย ของพนักงานขับรถ
  • ป้องกันการนำรถไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ก็จะช่วยในการลดพฤติกรรมการใช้งานรถที่ไม่เหมาะสม เช่น การหยุดพักที่นานเกินควร , การจอดรถติดเครื่องเป็นระยะเวลานาน เพราะข้อมูลเหล่านี้เราจะเห็นแบบนาทีต่อนาที
  • เป็นการเพิ่มความปลอดภัยในทรัพย์สิน ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ จากการใช้ความเร็วที่ไม่เหมาะสม
  • บริหารเวลาการทำงานของรถได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ใช้งานรถได้เต็มประสิทธิภาพ เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเดินรถให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถประมาณเวลาในการเดินทางได้
  • สามารถตรวจสอบคุณภาพการจัดส่งได้ตลอดเวลา จะขอยกตัวอย่างของ อุปกรณ์วัดอุณหภูมิในห้องเย็น ทำให้สินค้าที่ลูกค้าได้รับจึงมีคุณภาพสูง โดยเราได้ทดลองกับรถแช่อาหารทะเลแข็ง
  • เพิ่มคุณภาพในการบริการลูกค้า และการแข่งขันทางธุรกิจ ลูกค้าส่วนใหญ่จะรู้สึกดีเพราะสามารถติดตามการขนส่งสินค้าได้ตลอด สามารถตอบคำถามลูกค้าได้

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นข้อมูลจากผู้ประกอบการขนส่งสินค้า ซึ่งได้มีการเสริมต่อในเรื่องของการบริการในอนาคตที่จะทำหน้าเว็บไซต์ให้ลูกค้าสามารถเข้ามาตรวจสอบการเดินทางของสินค้าได้ทุกที่ทุกเวลา
สำหรับข้อเสียของระบบ GPS นั้น ผู้ประกอบการก็จะพูดเป็นเสียงเดียวกันครับว่า ระบบยังมีราคาสูงอยู่ เนื่องจากผู้ประกอบการบางรายยังไม่เห็นประโยชน์ที่ชี้วัดได้

ผมอยากจะยกตัวอย่างของผู้ประกอบการที่ทำให้ เห็นถึงความคุ้มค่าก่อนและหลังติด GPS นะครับ เริ่มจากก่อนหน้าที่จะนำระบบ GPS มาติดตั้งนั้น รถขนส่งสินค้ามักจะเกิดอุบัติเหตุ รวมมูลค่าเสียหายต่อปีประมาณ 3 ล้าน บาท เมื่อได้ทดลองนำระบบ GPS มาติดตั้งเพื่อใช้ควบคุมเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร จัดการทำให้อุบัติเหตุลดลงซึ่งมูลค่าเสียหายต่อปีที่เกิดขึ้น ติดตาม รถยนต์ gps

เมื่อสิ้นปี 2552 ประมาณ 1 ล้านบาท ทำให้บริษัทลดต้นทุนที่สูญเสียไปดังกล่าวได้มาก เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับตัวอย่างที่จะทำให้ผู้อ่านได้เห็นภาพนะครับ อีกอย่างก็คือ ข้อเสียในเรื่องบางพื้นที่ยังขาดสัญญาณทำให้ระบบทำงานขาดตอน ไม่ต่อเนื่องสำหรับสิ่งที่จะต้องมีการปรับปรุงเพิ่มเติมนั้น ผู้ประกอบการอยากจะให้ภาครัฐโดยเฉพาะกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ

หรือผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้นำระบบ GPS มาปรับปรุงและพัฒนาให้เป็นซอฟท์แวร์ฟรี และมีการพัฒนาแผนที่ ให้ละเอียดกว่าเดิม เพื่อที่จะทำให้ราคาของชุดติดตั้ง GPS มีราคาถูกลง และอยากให้ผู้ให้บริการ GPRS จากระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ครอบคลุมพื้นที่ให้มากขึ้นและขยายช่องทางการสื่อสารให้มากกว่าเดิมเพื่อให้การรับ-ส่งข้อมูลทำได้เร็วขึ้น

คุณสมบัติ

  • ฉายข้อมูลการนำทางไปยังกระจกหน้ารถของคุณ
  • ให้ข้อมูลเวลาถึงจุดหมายโดยประมาณและ lane assist
  • มีการแจ้งเตือนความเร็วและการจราจร1
  • ทำงานแบบไร้สายร่วมกับสมาร์ทโฟนผ่าน Bluetooth
  • สำหรับใช้ร่วมกับโปรแกรม Garmin StreetPilot สำหรับ iPhone

มองตรงไปข้างหน้า

ได้รับทิศทางแบบเลี้ยว-ต่อ-เลี้ยวไปยังจุดหมายปลายทางของคุณสำหรับการดูอย่างสะดวกระหว่างขับรถ HUD (Head-Up Display) รับข้อมูลการนำทางจากสมาร์ทโฟนของคุณ² และฉายภาพลงบนแผ่นฟิลม์ใสบนกระจกหน้ารถหรือบนเลนส์สะท้อนที่ติดอยู่ HUD จะทำการปรับระดับความสว่างโดยอัตโนมัติ เพื่อที่การฉายภาพจะมองได้อย่างชัดเจนท่ามกลางแสงตะวันหรือช่วงกลางคืน

มีรายละเอียดสำหรับการนำทางมากกว่าระบบการแสดงแบบพกพาแบบอื่น, แสดงการเลี้ยว, ระยะก่อนถึงหัวเลี้ยวถัดไป, ความเร็วปัจจุบันและขีดจำกัดความเร็ว, และเวลาถึงจุดหมายโดยประมาณ HUD ให้คุณทราบว่าเลนใดที่คุณควรอยู่เพื่อการขับต่อไป, และเตือนคุณถ้าคุณขับเร็วเกินขีดความเร็วที่จำกัด เครื่องยังเตือนความล่าช้าของการจราจรด้วย

ตั้งค่าง่าย ๆ

HUD ใช้งานง่าย เพียงติดแผ่นฟิลม์ใสลงบนกระจกหน้ารถของคุณ (หรือติดเลนส์สะท้อนที่รวมให้มาด้วย) แล้ววาง HUD ลงบนแดชบอร์ดของรถของคุณและจับคู่มันกับสมาร์ทโฟนไร้สายผ่าน Bluetooth โดยใช้ Garmin StreetPilot สำหรับ iPhone (ซื้อผ่าน App Store), เลือกจุดหมายปลายทางของคุณและ HUD จะฉายทิศทางแบบเลี้ยว-ต่อ-เลี้ยวไปนำทางคุณไปที่นั่น พอร์ต USB บนเครื่องเมื่อเสียบสายเข้ากับแหล่งจ่ายไฟรถช่วยให้เป็นการง่ายในการชาร์จโทรศัพท์มือถือของคุณในขณะที่คุณกำลังเดินทาง

  1. มีข้อจำกัด อาจไม่มีให้บริการในทุกพื้นที่
  2. ต้องใช้ร่วมกับแอพพลิเคชั่นสมาร์ทโฟนของ Garmin

สนใจ เเอดไลน์ LINE : @GeniusGPS

กลับหน้าหลัก